มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยอุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร
และสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร
ได้ร่วมกันพัฒนาข้อเสนอและกำหนดขอบเขตย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้
และได้ยื่นข้อเสนอเพื่อดำเนินการศึกษาเพื่อวางแผนพัฒนาย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้
(Maejo Agriculture
Innovation District Development & Implementation Plan) ด้านเทคนิคและข้อเสนอด้านราคา
เพื่อดำเนินโครงการดังกล่าว พร้อมเอกสารแสดงคุณสมบัติเบื้องต้น
ผู้รับผิดชอบได้จัดทำรายงานความก้าวหน้าครั้งที่สอง
ส่งแหล่งทุนเรียบร้อยแล้ว และได้ดำเนินการดังนี้
1.
ได้รับงบประมาณการสนับสนุนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA)
เพื่อพัฒนาย่านนวัตกรรมเกษตร อาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2.
ทีมงานได้เข้าร่วมประชุมกับคณะผู้บริหารของเทศบาลเมืองแม่โจ้ จำนวน 2 ครั้ง
โดยได้มีการนำเสนอประเด็น ดังนี้
1)
รายงานผลการศึกษา วิเคราะห์ฐานข้อมูลพื้นที่อย่างครบถ้วน
2)
การรวบรวมและวิเคราะห์สินทรัพย์พื้นฐานของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในเรื่องของสถาบัน
หน่วยงาน ด้านการเกษตรที่มีความโดดเด่น และพร้อมที่จะขับเคลื่อนต่อยอด
3) ด้านนวัตกรจากสถาบันหน่วยงาน ที่สามารถเชื่อมโยงกับข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
4) มีการจำแนกการผลิต การเกษตรปลอดภัย การแปรรูปผลผลิต
ด้านปศุสัตว์ ด้านอาหาร
5) ช่องทางการจำหน่ายของผลผลิต
6) มีเครือข่ายผู้ประกอบการที่ทีมงานดูแล ประมาณ 38 บริษัท
และให้การสนับสนุนผู้ประกอบการ เช่น ศิษย์เก่า ประมาณ 8-9 แห่ง
7) มีการพัฒนา วิเคราะห์ออกแบบย่านนวัตกรรมฯ
โดยมีการคัดเลือกพื้นที่ นำร่อง 3 แห่ง
ดังนี้
แห่งที่ 1 พื้นที่ส่วนไปรษณีย์
แห่งที่ 2 พื้นที่ส่วนกลาง ได้แก่ อาคาร 80 ปี
อาคารวิสัยทัศน์ สำนักหอสมุด และสำนักวิจัยฯ
แห่งที่ 3
พื้นที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านการเกษตร ได้แก่ เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรล้านนา และพื้นที่ประมง
3.
รายงานการระบุพื้นที่ย่านนวัตกรรมฯ ในระยะ 3 ปี 5 ปี และ 10 ปี
ซึ่งปัจจุบันมีระยะพื้นที่ศึกษาประมาณ 5 ตารางกิโลเมตร คาดว่าอีก 5 ปีต่อไป
จะเป็นเทศบาลเมืองแม่โจ้ และอำเภอสันทราย
4. เทศบาลเมืองแม่โจ้ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานย่านนวัตกรรมฯ
โดยมีบุคลากรของมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วม
5. ในปีงบประมาณ พ.ศ.2565 NIA สนับสนุนงบประมาณด้านการประชาสัมพันธ์ ในส่วนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ใช้งบประมาณจากงบอุดหนุนโครงการบริการวิชาการ ร่วมขับเคลื่อนในพื้นที่แปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ตามพระราชดำริ
และพื้นที่ศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมเกษตรล้านนา เพื่อให้เป็นพื้นที่เกษตรสมัยใหม่ วิชาการแบกะดินร่วมกับชุมชน
ในการพูดคุยและเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนเพื่อนำไปสู่การนำวิชาการไปใช้ประโยชน์
6. เป้าหมายของโครงการ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จะมีความร่วมมือกับ 19
ชุมชนในเทศบาลเมืองแม่โจ้