1.4.4 เตรียมความพร้อมในการประเมินหลักสูตรในระดับนานาชาติ

มหาวิทยาลัยมีการวางแผนในการประเมินหลักสูตรในระดับนานาชาติไว้ โดยเริ่มจากกระบวนการเปลี่ยนระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรจาก ระบบประกันคุณภาพของ สกอ. มาใช้ระบบการประกันคุณภาพหลักสูตรของอาเซียน (AUN-QA Programme Level V.3) โดยมีหลักสูตรนำร่องตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 และใช้กับทุกหลักสูตรที่ทำการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เพื่อเตรียมความพร้อมที่จะก้าวไปสู่การประกันคุณภาพหลักสูตรในระดับอาเซียน และปัจจุบัน(ปีการศึกษา 2564)ได้เิริ่มหลักสูตรนำร่องที่ใช้ AUN-QA. V.4 กับ 38 หลักสูตร 

ทั้งนี้มหาวิทยาลัยได้นำ AUN-QA เข้ามาใช้เป็นการประกันคุณภาพภายในระดับหลักสูตร เพื่อเตรียมและพลักดันให้ทุกหลักสูตรของมหาวิทยาลัยสามารถเทียบเคียงได้กับระดับนานาชาติ และพัฒนากระบวนการสร้างหลักสูตร การบริหารหลักสูตร รวมทั้งกระบวนการจัดการเรียนการสอนเป็นที่ยอมรับในระดับอาเซียนว่าหลักสูตรจะสามารพมีผลผลิตและผลลัพธ์ที่ตรงตามความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างแท้จริง รวมทั้งได้มีการวางแนวทางขับเคลื่อนโดยมอบหมายให้สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการทำการอบรมการจัดทำหลักสูตรโดยใช้แนวทาง Outcome Based Education (OBE) ซึ่งเป็นพื้นฐานในการดำเนินการประกันคุณภาพด้วยเกณฑ์ AUN-QA และรวมกับกองเทคโนโลยีดิจิทิลทำการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในการดำเนินการนี้ด้วย ตลอดทั้งได้ขับเคลื่อนโดยการสร้างผู้ประเมินขึ้นภายในมหาวิทยาลัย

และมหาวิทยาลัยได้วางแผนในการที่จะนำหลักสูตรที่มีความพร้อมรับการประเมินคุณภาพระดับอาเซียน (การประเมินคุณภาพภายนอกระดับหลักสูตร) ด้วยเกณฑ์ AUN-QA Programme Level เมื่อมีความมั่นใจว่าจะสามารถประเมินผ่านในระดับ 4 ได้

ซึ่งการหารือร่วมกันของคณะกรรมการขับเคลื่อน AUN-QA เพื่อทำการวางแผนดำเนินงานจะถูกถ่ายทอดไปสู่การพิจารณาเห็นขอบของคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยทุกครั้ง  ทั้งนี้การตัดสินใจที่จะดำการประกันคุณภาพการศึกษาด้วนระบบนานาชาตินี้ได้รับผลักดันขึ้นไปตามลำดับจนได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัย และประกาศเป็นนโยบายของมหาวิทยาลัยว่าทุกหลักสูตรจะใช้ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาด้วนระบบ AUN-QA ตาม Guideline ของ ASEN University Network ทั้ง Criteria และ point rating scale รวมทั้งปรับวิธีการเขียน SAR ใหม่ที่เน้นการพัฒนากระบวนการใน Criteria ผ่านกระบวนการอบรม/สัมมนาต่างๆ ที่ได้จัดขึ้น พบว่า ณ ปัจจุบันทุกหลักสูตรเริ่มมีความตระหนักในสภาวะการณ์แข่งขันของหลักสูตร เห็นความสำคัญของการพัฒนาทุกกระบวนการในการบริหารจัดการหลักสูตรเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ตรงกับ Stakeholders ของหลักสูตรมากขึ้นตามลำดับ

ในการผลักดันให้หลักสูตรของมหาวิทยาลัยได้เข้าสู่การประเมินในระดับนานาชาตินั้น พบว่า มีหลักสูตร ศศ.บ.เศรษฐศาสตรระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นหลักสูตรนำร่องหลักสูตรแรกของมหาวิทยาลัยที่ได้ทำการประกีนคุณภาพระดับหลักสูตรโดยใช้ AUN-QA ตั้งแต่ปีแรกที่ทำการเรียนการสอน โดย 2 ปีหลัง(ปีการศีกษา 2562 - 2553) ที่หลักสูตรได้ใช้ผู้ประเมินภายนอกของ ASEN  University Network หลักสูตรสามารถพัฒนาไปสู่ scale 4 ได้ จึงทำให้หลักสูตรมีความมั่นใจว่าจะสามารถประเมินคุณภาพภายนอกผ่านใน scale 4 ได้ในปีการศึกษา 2563  จึงได้ทำเรื่องขอสนับสนุนงบประมาณจากมหาวิทยาลัยไปยังอธิการบดี ในส่วนของการผลักดันการดำเนินงานเพื่อผลักดันการดำเนินงานทุกหลักสูตรในภาพมหาวิทยาลัยนั้น ในปีการศึกษา 2564 ได้ขับเคลื่อนผ่านโครงการต่างๆ เช่น QA Sharing /  อบรม Overview AUN-QA V.4 / อบรมผู้ประเมิน AUN-QA V.4 เป็นต้น โดยในปีงบประมาณ 2564 ได้ทำการเสนอของบประมาณเพื่อการขับเคลื่อนโครงการจำนวนเงินทั้งสิ้น 5 โครงการ รวมเป็นเงิน 232,200 บาท ได้รับงบประมาณสนับสนุนทั้งสิ้น 232,000 บาท โดยได้ทำกิจรรมไปแล้วเสร็จทั้ง 4 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 80.00 ดังนี้ 

1) AUN-QA Sharing เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2565   2) วิพากษ์ OP เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2565 -ยังเป็นกิจกรรมที่ต้องทำต่อเนื่อง- 3) โครงการ Overview AUN-QA V.4 เมื่อ 21 มีนาคม 2565 และ 4) โครงการอบรมผู้ประเมิน AUN-QA V.4  เมื่อ 27-29 เมษายน 2565 ยังคงค้างโครงการวิเคราะห์ Area for Improvement ที่จะจัดในเดือนกันยายน 2565

ทุกครั้งที่มีการจัดกิจกรรม/โครงการ หรือการประเมินหลักสูตรประจำปีเสร็จสิ้น กองพัฒนาคุณภาพจะมีการรายงานผลการจัดกิจกรรม/โครงการ oqes.mju.ac.th และผลการประเมินหลักสูตร oqes.mju.ac.th ที่มีการสังเคราะห์/วิเคราะห์ข้อมูลแล้วเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องและมีการเผยแพร่สู่สาธารณะผ่าน website ของกองพัฒนาคุณภาพ

(มีการดำเนินงานตามแผนครบถ้วน,  มีผลสำเร็จตามเป้าหมาย และ มีการประเมินแผน-รายงานผลถึงสภา-แผนแพร่ผลการดำเนินงาน รอจนหมดรอบการประเมินหลักสูตรปีการศึกษา 2564 -มิถุนายน 2565- และนำเสนอจนถึงสภามหาวิทยาลัยเสร็จสิ้น ประมาณเดือนพฤศจิกายน 2565)



รายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อน 1 2561.pdf
mjuว 53 มติ สำนักบริหาร + กองพัฒนาคุณภาพpdf.pdf
mjuรายงานผลโครงการอบรมเกณฑ์ AUN v40(21มค65)pdf.pdf