10.1.2 การดำเนินงานด้านเกษตรอินทรีย์ 2 กิจกรรม (WBAC+MOC)

    กิจกรรมที่ 1 การดำเนินกิจกรรมของศูนย์เกษตรสุขภาวะ Well - being Agriclture Center (WBAC)

วันที่ 9 เมษายน 2565 เวลา 17.00 น. ที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชุมพร ตำบลตะโก อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ พร้อมด้วยอาจารย์วีรชัย เพชรสุทธิ์ ,อาจารย์นาตาลี อาร์ ใจเย็น,นางนิชาพล บัวทอง ,นายชัยวิชิต เพชรศิลา ,นายชาญวิทย์ ขุนทองจันทร์,นางสาวสายทอง สุจริยาพงศ์พร และนายณพพล วิเชียร เข้าร่วมพิธีเปิดงานมหกรรม “เศรษฐกิจสร้างสรรค์ กระท่อมไทยของดีเมืองชุมพร” เพื่อส่งเสริมภาคเศรษฐกิจของจังหวัดชุมพร โดยมีนายโชตินรินทร์ เกิดสม ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร พร้อมด้วยนางปวีณ์ริศา เกิดสม นายกเหล่ากาชาดจังหวัดชุมพร เป็นประธานในพิธีเปิด และรองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร, รองนายกเหล่ากาชาดจังหวัดชุมพร, หัวหน้าส่วนราชการ, กลุ่มองค์กรภาคเกษตร, ผู้ประกอบการ, เกษตรกรและประชาชนจังหวัดชุมพร

      พร้อมกันนี้ นายโชตินรินทร์ เกิดสม ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร พร้อมด้วยนางปวีณ์ริศา เกิดสม นายกเหล่ากาชาดจังหวัดชุมพร ,รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร, รองนายกเหล่ากาชาดจังหวัดชุมพรและหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดชุมพร ให้เกียรติเข้าเยี่ยมชมนิทรรศการบริการวิชาการองค์ความรู้เรื่องพืชกระท่อม อาทิ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ,การสกัดสารสำคัญ ,การขยายพันธุ์,การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากพืชกระท่อม, โดยอาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ หัวหน้าศูนย์เกษตรสุขภาวะ Well-being Agriculture Center (WBAC) /หัวหน้าโครงการคลินิกเทคโนโลยี “หมู่บ้านผลิตพืชกระท่อมบางหมาก” ,อาจารย์นาตาลี อาร์ ใจเย็น,นางนิชาพล บัวทอง  รวมทั้งเยี่ยมชม “การเพาะเลี้ยงแหนแดงเพื่อการเกษตร” โดยอาจารย์วีรชัย เพชรสุทธิ์ , "การเลี้ยงไส้เดือนดินกำจัดขยะอินทรีย์และของเหลือใช้ในครัวเรือน" "การผลิตไม้ดอกไม้ประดับในสวนปาล์มน้ำมัน" โดยนายชัยวิชิต เพชรศิลา

    อย่างไรก็ตามการจัดงานในครั้งนี้ เป็นการจัดงานแบบแนววิถีใหม่ ภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 และปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุขจังหวัดชุมพรอย่างเคร่งครัด อาทิ ผู้เข้าร่วมจัดนิทรรศการ ผู้ประกอบการร้านค้า ผู้จำหน่ายอาหาร ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ครบตามเกณฑ์  อีกทั้งมีการกำหนดจุดเข้า-ออก มีการลงทะเบียน จุดคัดกรองอุณหภูมิ ผู้เข้าร่วมงานสวมหน้ากากตลอดเวลา เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล ล้างมือทุกครั้งหลังสัมผัสจุดสัมผัสร่วม เป็นต้น

      งานมหกรรม “เศรษฐกิจสร้างสรรค์ กระท่อมไทยของดีเมืองชุมพร” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-17 เมษายน 2565 ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชุมพร อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร ขอเชิญท่านที่สนใจเข้าเยี่ยมชมนิทรรศการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้ที่โซนนิทรรศการบริการวิชาการข้างเวทีกลาง

 กิจกรรมที่ 2  การดำเนินโครงการยกระดับวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการใหม่ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ (SMATI)

     วันที่ 31 มีนาคม 2565 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ผศ.ดร.ธเนศ ไชยชนะ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและพัฒนานักศึกษา วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ หัวหน้าฝ่ายขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เดินทางมายังมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เพื่อติดตามการดำเนินโครงการยกระดับวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการใหม่ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ (SMATI) ปีงบประมาณ 2564 โดยได้รับเกียรติจาก ดร.บุญศิลป์ จิตตะประพันธ์ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และ ผศ.ชลดรงค์ ทองสง รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์ บริการวิชาการและวิจัย กล่าวต้อนรับ โดยมีตัวแทนจากสมาคมประชาสังคมชุมพร และผู้ประกอบเข้าร่วมประชุม

      ในการนี้ อาจารย์ ดร.ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วน รองคณบดีฝ่ายบริหารและพัฒนาวิชาการ ได้รายงานการดำเนินโครงการฯ กิจกรรมย่อย 9.3 การสนับสนุนการพัฒนาผู้ประกอบการชุมชน ดังนี้ การจัดทำหลักสูตรฝึกอบรม จำนวน 10 โมดูล เช่น ทัศนคติของผู้ประกอบการ, พฤติกรรมผู้บริโภค, กฎหมายธุรกิจ, การเพิ่มมูลค่าและการปรับตัวผ่านการบริหารความเสี่ยง, มาตรฐานสินค้า, การจัดทำบัญชี, การเขียนแผนธุรกิจและการเข้าถึงแหล่งทุน, การผลิตสื่อ, การจัดการช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าชุมชนและเครือข่ายผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

      นอกจากนี้ ได้มีการลงพื้นที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการ แบ่งเป็น 5 กลุ่ม (ข้าวไร่,กล้วย, เครื่องแกง, ผักและผลไม้อินทรีย์, กาแฟ) การส่งเสริมผลิตภัณฑ์ จำนวน 36 กลุ่ม และการคัดเลือกผลิตภัฑณ์ต้นแบบ จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์ รวมผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 90 ราย

      ทั้งนี้ โครงการฯ ยังดำเนินการต่อเนื่อง อาทิ การตรวจวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการในอาหาร การจำหน่ายสินค้าในรูปแบบตลาดออนไลน์และตลาดชุมชนหมุนเวียน โดยจะเริ่มที่หน้าหาดมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ในวันที่ 18 - 20 พฤษภาคม 2565 และจะหมุนเวียนไปยังเครือข่ายในจังหวัดชุมพร ระนอง และสุราษฎร์ธานี

      และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ยังคงจะดำเนินโครงการผ่านความต้องการของชุมชน อาทิ การจำหน่ายสินค้าในรูปแบบตลาดออนไลน์ การสร้างสถาบันผู้ประกอบ เช่น Cofee Academy การเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) การศึกษาตลอดชีวิต (Lifelong Education) โดยสะสมเป็นธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank) ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้และเทียบโอนเพื่อปริญญาในอนาคตได้